การบํารุงรักษาเครื่องยนต์ เรื่องที่คนมีรถยนต์ต้องรู้

0
7626
การบํารุงรักษาเครื่องยนต์ เรื่องที่คนมีรถยนต์ต้องรู้

การดูแลรักษารถยนต์เบื้องต้น ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไรสำหรับคนมีรถยนต์ใช้งาน ทั้งนี้การบํารุงรักษาเครื่องยนต์ตัวของคุณต้องเป็นช่างซ่อมแต่อย่างใด และยังไม่ต้องซื้อเครื่องมือช่างใด ๆ เพิ่มเติมอีกด้วย โดยการบํารุงรักษาเครื่องยนต์เป็นเพียงแค่หมั่นตรวจสอบในจุดต่าง ๆ ของรถยนต์ที่จำเป็นต้องเช็กอยู่เสมอ และพยายามจับสังเกตเวลาขับขี่ ว่ามีอะไรผิดปกติไปจากเดิมรึไม่ มีเสียงแปลก ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้รึไม่ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการบํารุงรักษาเครื่องยนต์

การดูแลรักษารถยนต์ คนมีรถยนต์จำเป็นต้องรู้

ลูกปืนล้อแตก ตรวจเช็กอย่างไง ราคาเท่าไหร่?

ทั้งนี้การบํารุงรักษาเครื่องยนต์ใช้หลักการพื้นฐานแบบเดียวกันหมด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซลก็ตามแต่ ตลอดจนขนาดของเครื่องยนต์ที่แตกต่างนั้น การบํารุงรักษาเครื่องยนต์ขั้นพื้นฐานทั่วไปจะไม่มีความแตกต่างอย่างใด

1. น้ำมันเครื่อง (งานบํารุงรักษาเครื่องยนต์)

การบํารุงรักษาเครื่องยนต์เบนซิน

ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เล็กหรือใหญ่ ตลอดจนจะเบนซินหรือดีเซลก็ตาม หัวใจสำหรับของระบบเครื่องยนต์ที่ขาดไปไม่ได้ก็คือ น้ำมันเครื่องนั้นเอง โดยน้ำมันเครื่องจะทำหน้าที่หล่อลื่นชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ขยับไปมา ตลอดจนระบายความร้อนที่เกิดขึ้นในเครื่องยนต์นั้นเอง

การดูแลน้ำมันเครื่องยนต์เรียกว่าไม่มีอะไรมากมาย เพียงแค่หมั่นตรวจวัดน้ำมันเครื่องเป็นประจำสำหรับรถเก่า ๆ หากเป็นรถใหม่อยู่ อาจไม่ต้องตรวจบ่อยก็ได้ ทั้งนี้จำเป็นต้องจอดรถให้อยู่ในระดับแนวพื้นราบ ไม่ลาดเอียงแต่อย่างใด และให้คุณมองหาก้านวัดน้ำมันเครื่อง และดึงออกมาตรวจเช็ก ซึ่งที่ก้านวัดน้ำมันเครื่องจะมีระดับค่าอยู่ระหว่าง F และขีดต่ำสุด โดยพูดง่าย ๆ ว่าอย่าให้น้ำมันเครื่องลดต่ำเกิดขีดล่างเป็นอันพอ

2. น้ำมันเบรก (การบํารุงรักษาเครื่องยนต์เล็ก เบนซิน)

การบํารุงรักษาเครื่องยนต์ดีเซล

จำเป็นต้องตรวจเช็กน้ำมันเบรกอยู่เนือง ๆ โดยตามปกติของคนใช้รถยนต์ก็ควรเปิดฝากระโปรงรถเพื่อตรวจเช็กของเหลวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันเครื่อง, น้ำมันเพาเวอร์ อะไรอยู่แล้ว ซึ่งในส่วนของน้ำมันเบรกหากมีปริมาณลดลงที่ผิดปกติแล้ว ถือว่าเป็นสัญญาณที่กำลังบ่งบอกว่าระบบเบรกของรถคุณกำลังมีปัญหาก็ว่าได้ สำหรับระบบเบรกนั้นเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลยแม้แต่น้อย เนื่องจากเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้รถยนต์ของคุณชะลอความเร็วลง ตลอดจนเบรกเพื่อหยุดได้

3. น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ (การบํารุงรักษาเครื่องยนต์เล็ก)

การบํารุงรักษาเครื่องยนต์เล็ก

เรียกได้ว่าน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์กับรถที่เพิ่งซื้อไม่กี่ปีนั้น แทบไม่ต้องไปสนใจเลยก็ว่าได้ ซึ่งตามปกติระบบน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์เป็นระบบปิด ตัวน้ำมันจะไม่มีการระเหยหายไปแต่อย่างใด เรียกว่าหากน้ำมันเพาเวอร์หายไปจากระบบแล้วล่ะก็ ให้ก้มดูที่ใต้ท้องรถได้เลย มีหยดให้ดูเป็นหลักฐานแน่นอน

4. น้ำยาหม้อน้ำ (การบํารุงรักษาเครื่องยนต์ดีเซล)

การบํารุงรักษาเครื่องยนต์เล็ก เบนซิน

ระบบหม้อน้ำระบายความร้อนนั้น ตัวน้ำยาเรียกได้ว่าเป็นระบบปิดแบบ 100% ซึ่งอาจมีน้ำยาหายไปบ้างแต่ในปริมาณที่เล็กน้อยเท่านั้น เรียกได้ว่าใช้รถไปสัก 6 เดือน น้ำยาหม้อน้ำอาจลดลงไปเพียงนิดเดียวเท่านั้น แต่หากสังเกตที่หมอพักน้ำแล้วพบว่าน้ำยาหายไปผิดปกติ แนะนำว่าต้องรีบไปหาร้านหม้อน้ำ หรือเข้าศูนย์บริการตรวจเช็กให้เรียบร้อย ไม่คุ้มค่าที่จะฝืนใช้งานต่อเนื่องจาก หากเครื่องยนต์ร้อนขึ้นมาถึงจุดหนึ่งแล้วไม่สามารถระบายความร้อนได้ โอกาสฝาสูบโก่งมีสิทธิ์สูงมาก ๆ นั้นเอง

5. พัดลมหม้อน้ำไฟฟ้า (การบํารุงรักษาเครื่องยนต์เบนซิน)

งานบํารุงรักษาเครื่องยนต์

เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์แบบเลี่ยงไม่ได้ สำหรับพัดลมหม้อน้ำไฟฟ้าที่ทำหน้าที่พัดอากาศระบายความร้อนของหม้อน้ำ เวลาที่รถจอดนิ่งอยู่กับที่ หรือขับขี่ในความเร็วต่ำ จนลมที่มาปะทะไม่เพียงพอที่จะระบายความร้อนของหม้อน้ำได้ ตามปกติควรเปลี่ยนพัดลมหม้อน้ำไฟฟ้าตามระยะที่ค่ายรถกำหนด ลดความเสี่ยงที่จะใช้งานไปแล้วเกิดอากาศมอเตอร์พัดลมเสีย ซึ่งตัวคุณจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าพัดลมหม้อน้ำไฟฟ้าทำงานรึไม่ จนกว่าความร้อนจะแจ้งเตือนนั้นเอง

6. กรองอากาศ (การบํารุงรักษาเครื่องยนต์)

การบํารุงรักษาเครื่องยนต์ดีเซล-1

เป็นอุปกรณ์ที่ต้องดูแลรักษาตามอายุการใช้งานก็ได้ว่า โดยกรองอากาศมีหน้าที่กรองอากาศที่สะอาดเข้าไปเผาไหม้ในเครื่องยนต์นั้นเอง หากกรองอากาศของคุณสกปรกแล้ว อากาศที่จะไหลเข้าไปในห้องเครื่องก็ลดน้อยลงไปเนื่องจากอากาศไหลผ่านกรองอากาศได้ยากขึ้นนั้นเอง

การบํารุงรักษาเครื่องยนต์จะช่วยยืดอายุให้รถยนต์ของคุณสามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น ตลอดจนป้องกันความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพและไม่ได้รับการดูแลนั้นเอง

ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่:https://rakamercedes.com/

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here