เมื่อแอร์รถไม่เย็น ซ่อมกี่บาท ?

0
16401
เมื่อแอร์รถไม่เย็น ซ่อมกี่บาท ?

แอร์รถยนต์จัดเป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ขับขี่ตลอดจนผู้โดยสารในรถก็ว่าได้ หากรถยนต์ไม่มีแอร์ก็ยังสามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาใด ๆ ในการขับขี่ก็ว่าได้ ถ้าย้อนไปช่วงก่อน 30 ปีที่แล้ว ถือได้ว่าแอร์รถยนต์จำเป็นต้องจ่ายเงินซื้อมาติดตั้งเพิ่ม ไม่ใช่รถยนต์ทุกคันจะมีมาให้จากโรงงานก็ว่าได้

>>>การบํารุงรักษาเครื่องยนต์ เรื่องที่คนมีรถยนต์ต้องรู้

>>>ไดชาร์จรถยนต์มีปัญหา ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ?

ถึงแม้ว่าแอร์รถยนต์จะไม่มีผลต่อการขับขี่รถยนต์ แต่มันส่งผลต่อผู้ขับขี่โดยตรงในเรื่องความสะดวกสบายนั้นเอง หากคุณใช้รถยนต์ในเส้นทางต่างจังหวัดและไม่เจอการจราจรที่หนาแน่น การที่รถยนต์แอร์เสีย หรือแอร์ไม่เย็นอาจไม่ทำให้คุณลำบากสักเท่าไหร่ สามารถเปิดกระจกรถให้ลมเข้าได้อย่างสบาย ๆ ส่วนถ้าเป็นในเมืองแล้วล่ะก็ บอกได้เลยว่าทรมานพอสมควร หากรถคุณแอร์เสียหรือไม่มีแอร์นั้นเอง

ตามปกติแล้วระบบของแอร์เป็นแบบปิด ถ้าระบบสมบูรณ์คุณไม่ต้องไปดูแลอะไรมันเลยก็ว่าได้ จนกว่าแอร์รถยนต์ของคุณจะไม่เย็นเหมือนเดิม ซึ่งทางแก้ไขก็คือ นำรถยนต์ไปตรวจเช็กความผิดปกติที่ร้านแอร์ที่คุณสะดวกได้เลย

แอร์รถยนต์รั่วซ่อมกี่บาทแอร์รถยนต์รั่วซ่อมกี่บาท

ทั้งนี้หากเป็นรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่กี่ปี ปัญหาเรื่องแอร์มีปัญหา แอร์ไม่เย็น เรียกได้ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ ซึ่งปัญหาระบบแอร์รถยนต์ไม่เย็นมักจะเกิดขึ้นกับรถเก่า ที่มีอายุการใช้งานมาระยะเวลาหนึ่งก็ว่าได้

สาเหตุแอร์ไม่เย็น อาจเกิดได้จากสาเหตุ อาทิเช่น

1. แอร์รถยนต์รั่ว (แอร์รถยนต์เย็นบ้างไม่เย็นบ้าง)

การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์แอร์ก็ว่าได้ ทำให้ระบบแอร์รถยนต์เกิดการรั่วไหล ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ตามจุดข้อต่อของวงจรระบบแอร์ สามารถเช็กได้จากลองเอาน้ำสะอาดผสมกับสบู่ให้มีฟอง และลองลูบไล่ตามสายระบบแอร์และข้อต่อต่าง ๆ ภายในห้องเครื่อง หากตรงไหนรั่วไหลจะมีฟองอากาศออกมา เท่ากับว่าตรงนั้นคือจุดที่แอร์รถยนต์รั่วนั้นเอง

2. คอมเพรสเซอร์มีปัญหา (ระบบแอร์รถยนต์ไม่เย็น)

หน้าที่ของคอมเพรสเซอร์ก็คือ เพิ่มความดันให้กับสารที่ทำความเย็นให้กลายเป็นไอ ซึ่งคอมเพรสเซอร์จะดูดสารทำความเย็นที่เป็นไอความดันต่ำจากเครื่องระเหยเข้ามาทางท่อดูดของคอมเพรสเซอร์ และอัดไอของสารทำความเย็นนี้ให้มีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น ก่อนที่จะส่งไปยังคอนเดนเซอร์ (Condensor) ต่อไป

หากคอมเพรสเซอร์มีปัญหาเกิดปัญหาขึ้นมา ระบบแอร์จะไม่สามารถใช้งานได้เลย แอร์รถยนต์จะมีเพียงการพ่นอากาศในอณุหภูมิปกติออกมา ซึ่งไม่มีความเย็นแต่อย่างใด

3. คอยล์ร้อนเสียหาย (สาเหตุ แอร์รถยนต์ เดี๋ยวเย็น เดี๋ยวไม่เย็น)

เรียกได้ว่ามีหน้าที่ เปลี่ยนสถานะน้ำยาในสภาวะไอที่มีอุณหภูมิและความดันสูงให้กลั่นตัวเป็นของเหลว ซึ่งรถยนต์แทบทั้งหมดจะใช้อากาศระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคอยล์ร้อนอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพจากการใช้งานเป็นหลัก จำเป็นต้องเปลี่ยนคอยล์ร้อนใหม่เท่านั้น ไม่สามารถซ่อมของเดิมได้

4. พัดลมระบายความร้อนไม่ทำงาน (แอร์รถไม่เย็น ซ่อมกี่บาท)

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้แอร์รถยนต์ไม่เย็นก็ว่าได้ เมื่อพัดลมระบายความร้อนไม่ทำงาน หากรถยนต์สตาร์ทเครื่องเปิดแอร์และจอดนิ่ง ๆ ไว้ การระบายความร้อนเดียวที่สามารถทำได้ก็คือ พัดลมระบายความร้อนนั้นเอง หากพัดลมระบายความร้อนมีปัญหาแล้วล่ะก็ จะไม่สามารถระบายความร้อนที่เกิดขึ้นได้เลย

อาการพัดลมระบายความร้อนไม่ทำงาน สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เนื่องจากรถยนต์ทั่วไปในท้องตลาดจะพัดลมระบายความร้อนอันเดียวกับของหม้อน้ำนั้นเอง หากพัดลมเสียความร้อนของรถยนต์จะขึ้นแจ้งเตือน ซึ่งเรื่องพัดลมระบายความร้อนไม่สามารถรีรอได้ จำเป็นต้องนำไปเปลี่ยนใหม่ให้ได้เร็วที่สุด ป้องกันความเสียหายของเครื่องยนต์ที่เกิดจากความร้อนสะสมที่ระบายไม่ทันนั้นเอง

5. พัดลมแอร์ไม่ทำงาน (แอร์รถยนต์เย็นบ้างไม่เย็นบ้าง)

คงต้องมีรถยนต์เก่าจริง ๆ ถึงจะเจอปัญหาพัดลมแอร์เสียไม่ทำงาน ซึ่งสังเกตุอาการได้อย่างง่าย ๆ ก็ว่าได้ เมื่อคุณเปิดแอร์แล้วทุกอย่างไม่ตอบสนอง ไม่มีลมเป่าออกจากช่องแอร์ อาการเหล่าให้ต้องสงสัยได้เลยว่า พัดลมแอร์ของคุณเสียนั้นเอง

แอร์รถรั่วซ่อมกี่บาทซ่อมแอร์รถยนต์ไม่เย็น ราคากี่บาท

สุดท้ายนี้ระบบแอร์เวลาปัญหาขึ้นมา ไม่ว่าจะเกิดจากเหตุใดก็แล้วแต่ ข้อแนะนำก็คือ จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ แบบยกระบบแอร์ใหม่ ซึ่งจะมีรายจ่ายที่สูง แต่เพื่อแรกกับการใช้งานที่เหมือนรถยนต์ป้ายแดงก็ว่าได้ ซึ่งบอกได้เลยว่าเจ็บแต่จบ ส่วนราคาซ่อมแอร์รถยนต์ แอร์รถไม่เย็น ซ่อมกี่บาท บอกได้เลยว่ารถยนต์แต่ละรุ่น แต่ละแบรนด์มีราคาไม่เท่ากัน ถ้าอยากทราบถึงซ่อมแอร์รถยนต์ ราคา โปรดสอบถามราคาร้านแอร์ก่อนที่จะทำทุกครั้ง

ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่:https://rakamercedes.com/

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here